viagra-50-online-store.com

PRAKOB MODEL

 

PRAKOB  MODEL

 

PRAKOB  MODEL

รูปแบบการบริหารโรงเรียนของนายประกอบ  หาญณรงค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนหาดใหญ่เจริญราษฏร์พิทยา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ได้ใช้หลักบริหารโดยประยุกต์รูปแบบการบริหารโดยคำนึงถึงประโยชน์ของนักเรียนเป็นสำคัญเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนมากที่สุด โดยการวิเคราะห์นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16 ซึ่งมีรูปแบบการบริหารคือ

P=Participationการมีส่วนร่วมประสานความร่วมมือกับสถานศึกษา หน่วยงานอื่นโดยเฉพาะภาคี 4 ฝ่าย โดยกำหนดเป็นหลัก 5 ร คือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา ร่วมรับผิดชอบและร่วมภาคภูมิใจ ในการปรับปรุงระบบประกันคุณภาพภายในและการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

R=Researchการวิจัยในการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนและสถานศึกษาได้ทำการศึกษาวิจัยดำเนินการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามหลักประกันคุณภาพการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายความสำเร็จของสถานศึกษา ติดตาม ตรวจสอบและประเมินคุณภาพภายในเพื่อปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA

A=Accountabilityการรับผิดชอบ มีจิตสำนึกและความรับผิดชอบในหน้าที่ โดยเอาใจใส่มุ่งมั่นให้งานที่รับผิดชอบสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ ร่วมรับผิดชอบในภารกิจและเป้าหมายของหน่วยงานและองค์กรวางแผนการดำเนินงาน และปฏิบัติจนบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย รับรู้ วิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์ สภาพปัญหา และสภาพแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอก และมีการวางแผนเตรียมรับสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม

K= Knowledgeความรู้ที่เกิดจากการศึกษาร่วมกันค้นคว้าเป็นความรู้ทางวิชาการได้ศึกษาวิเคราะห์ทิศทางและยุทธศาสตร์ของหน่วยงานเหนือสถานศึกษาได้แก่เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ระดับชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ แผนปฏิบัติราชการของกระทรวงศึกษาธิการ และแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ความรู้จากประสบการณ์ของทุกคน รวมทั้งความรู้ทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย ประกอบด้วยการมีคุณธรรม

O=Organization จัดระเบียบได้จัดระบบโครงสร้างองค์กร ให้รองรับการจัดระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยการนำระบบ KPLs มาใช้เริ่มจากการจัดทำมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน การกำหนดตัวบ่งชี้ กำหนดเกณฑ์การประเมินและการทำรายงานการประเมินคุณภาพภายใน

B=Best Practiceการปฏิบัติที่ดีที่สุด เป็นเครื่องมือแนะนำแนวทางที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารงาน โดยการนำหลักทางการบริหารมาประยุกต์ใช้อย่างบูรณาการ ประกอบด้วย การวิเคราะห์บริบท การวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล การนำองค์การและเทคโนโลยีทางการบริหารการนำแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ การบริหารการเปลี่ยนแปลง การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม การควบคุม การวัด ประเมินผล และการจัดการองค์ความรู้ พร้อมทั้งแนะนำวิธีการดึงความคิดความรู้ของบุคลากรออกมา เพื่อให้หน่วยงานขับเคลื่อนบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้และนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศในที่สุด

 

นายประกอบ  หาญณรงค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนหาดใหญ่เจริญราษฎร์พิทยา

 

PRAKOB  MODEL

นวัตกรรมการบริหารจัดการโรงเรียนหาดใหญ่เจริญราษฎร์พิทยา

โรงเรียนต้นแบบการเพิ่มผลผลิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

The masters school productivity based on the philosophy of sufficiency economy.

จากแนวคิดและหลักการของการเพิ่มผลผลิต (Productivity)  ในองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งของประเทศนั้นได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องคู่กับแนวทาง นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นการสร้างจิตสำนึกให้คนในสังคมเป็นคนดี มีจริยธรรม ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพทางด้านการศึกษาให้คนในสังคมนั้นๆได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เท่าเทียมกัน ส่งผลให้เกิดคนดีขึ้นในสังคมที่มีความรู้ความสามารถมาช่วยพัฒนาประเทศให้มีความรุ่งเรืองและเจริญก้าวในอนาคตต่อไป

การปรับปรุงประสิทธิภาพ คุณภาพและลดต้นทุน เพื่อให้ผลผลิตมีปริมาณที่พอเพียงกับความต้องการประกอบกับการเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการให้มีค่าสูงขึ้นเพื่อให้ต้นทุนขององค์กรและประเทศลดลง จากแนวคิดการเพิ่มผลผลิต โรงเรียนหาดใหญ่เจริญราษฎร์พิทยาได้ดำเนินงานโครงการโรงเรียนต้นแบบการเพิ่มผลผลิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นโดยนำแนวคิดหลักการของการเพิ่มผลผลิตและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาเป็นหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อให้มีทัศนคติ วิธีคิด และวิธีปฏิบัติตามแนวทางการเพิ่มผลผลิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันจะนำไปสู่การเตรียมความพร้อมทรัพยากรบุคคลในอนาคตให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพและศักยภาพที่จะทำให้ประเทศชาติเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

โรงเรียนหาดใหญ่เจริญราษฎร์พิทยา  เป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16 โดยสภาตำบลฉลุง ได้อนุญาตให้ใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์จำนวน 80ไร่ ณ บ้านสวนพลู หมู่ที่6 ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มีนักเรียนทั้งหมด 365 คน ครู-อาจารย์ 28 คน

          การออกแบบนวัตกรรมทางด้านการบริหาร  ประกอบโมเดล “Prakob  Model”มีหลัการและแนวคิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เป็นการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน(School-Based Management:SBM) ซึ่งได้นำทฤษฏีการบริหารเป็นฐานความคิดมาประยุกต์ใช้ในการบริหารตามเอกลักษณ์ของโรงเรียน

1.ทฤษฏีระบบ System Theory

2.หลัการของวงจรเดมมิ่ง(PDCA )

3.แนวคิดการเพิ่มผลผลิตของสถาบันการเพิ่มผลผลิตแห่งชาติมาเป็นแนวคิดในการออกแบบโมเดล

4.การบูรณาการกับหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง(พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน)และ 2 เงื่อนไข(ความรู้และคุณธรรม)

นวัตกรรมทางด้านบริหารประกอบโมเดล “PRAKOB MODEL

             รูปแบบการบริหารโรงเรียนของนายประกอบ  หาญณรงค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนหาดใหญ่เจริญราษฏร์พิทยา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ได้ใช้หลักบริหารโดยประยุกต์รูปแบบการบริหารโดยคำนึงถึงประโยชน์ของนักเรียนเป็นสำคัญเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนมากที่สุด โดยการวิเคราะห์นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16 ซึ่งมีรูปแบบการบริหารคือ

ขั้นตอนที่ 1 ปัจจัยนำเข้า(Input ) ประกอบด้วย 3 กิจกิจกรรม

P=Participationการมีส่วนร่วมประสานความร่วมมือกับสถานศึกษา หน่วยงานอื่นโดยเฉพาะภาคี 4 ฝ่าย โดยกำหนดเป็นหลัก 5 ร คือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา ร่วมรับผิดชอบและร่วมภาคภูมิใจ ในการปรับปรุงระบบประกันคุณภาพภายในและการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

R=Researchการวิจัยในการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนและสถานศึกษาได้ทำการศึกษาวิจัยดำเนินการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามหลักประกันคุณภาพการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายความสำเร็จของสถานศึกษา ติดตาม ตรวจสอบและประเมินคุณภาพภายในเพื่อปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA

A=Accountabilityการรับผิดชอบ มีจิตสำนึกและความรับผิดชอบในหน้าที่ โดยเอาใจใส่มุ่งมั่นให้งานที่รับผิดชอบสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ ร่วมรับผิดชอบในภารกิจและเป้าหมายของหน่วยงานและองค์กรวางแผนการดำเนินงาน และปฏิบัติจนบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย รับรู้ วิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์ สภาพปัญหา และสภาพแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอก และมีการวางแผนเตรียมรับสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม

ขั้นตอนที่ 2 กระบวนการ(Process  ) ประกอบด้วย 2 กิจกรรม

 K= Knowledgeความรู้ที่เกิดจากการศึกษาร่วมกันค้นคว้าเป็นความรู้ทางวิชาการได้ศึกษาวิเคราะห์ทิศทางและยุทธศาสตร์ของหน่วยงานเหนือสถานศึกษาได้แก่เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ระดับชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ แผนปฏิบัติราชการของกระทรวงศึกษาธิการ และแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ความรู้จากประสบการณ์ของทุกคน รวมทั้งความรู้ทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย ประกอบด้วยการมีคุณธรรม

O=Organiseจัดระเบียบได้จัดระบบโครงสร้างองค์กร ให้รองรับการจัดระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยการนำระบบ KPLs มาใช้เริ่มจากการจัดทำมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน การกำหนดตัวบ่งชี้ กำหนดเกณฑ์การประเมินและการทำรายงานการประเมินคุณภาพภายใน

 ขั้นตอนที่ 3  ผลผลิตProduct(output/outcome)ประกอบด้วย 1 กิจกรรม

B=Best Practiceการปฏิบัติที่ดีที่สุด เป็นเครื่องมือแนะนำแนวทางที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารงาน โดยการนำหลักทางการบริหารมาประยุกต์ใช้อย่างบูรณาการ ประกอบด้วย การวิเคราะห์บริบท การวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล การนำองค์การและเทคโนโลยีทางการบริหารการนำแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ การบริหารการเปลี่ยนแปลง การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม การควบคุม การวัด ประเมินผล และการจัดการองค์ความรู้ พร้อมทั้งแนะนำวิธีการดึงความคิดความรู้ของบุคลากรออกมา เพื่อให้หน่วยงานขับเคลื่อนบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้และนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศในที่สุด

ขั้นตอนที่ 4  ข้อเสนอแนะ/ปรับปรุง(FEEDBACK)ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายของประกอบโมเดลที่จะรับรู้ถึงปัญหาทั้งหมดจากข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นต่างๆ และคำติชม ซึ่งจะเป็นข้อมูลย้อนกลับให้เห็นจุดเด่นจุดด้อยของแผนงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงานและกระบวนการการดำเนินงาน โดยใช้หลัการวิจัยมาศึกษาแนวทางแก้ปัญหาและปรับปรุงพัฒนางานต่อไป

 

โรงเรียนหาดใหญ่เจริญราษฎร์พิทยา นำแนวคิดการเพิ่มผลผลิตและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ  ดังนี้

1.ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา 

                     โรงเรียน เป็นโรงเรียนแนวคิดการเพิ่มผลผลิต ดังนั้นในการบริหารจัดการสถานศึกษา จึงเป็นไปตามหลักของการเพิ่มผลผลิตนั้นคือ การใช้วงจรคุณภาพ PDCA ในการวางนโยบาย การกำหนดแผนงาน โครงการ กิจกรรมด้านวิชาการ  การบริหารจัดการงบประมาณของสถานศึกษา บริหารอาคารสถานที่และจัดการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตลอดจนการ ประสานสัมพันธ์กับชุมชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อการอยู่อย่างพอเพียงมีการดำเนินการตามนโยบาย แผนงานโครงการต่าง ๆ มีการติดตามผลการดำเนินงาน และนำผลการติดตามมาพัฒนาการดำเนินงานต่อไป

2.ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน 

                     โรงเรียนมี แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทุกระดับชั้น มีการนิเทศติดตามประเมินผล การนำหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ มีการศึกษาวิเคราะห์วิจัย เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมีสื่อและแหล่งเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน ที่นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้จากการปฏิบัติจริง เรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย โดยเฉพาะในรูปของตลาดนัดวิชาการ

             3.ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 

                     โรงเรียน มีแผนงานโครงการ ส่งเสริมกิจกรรมนักเรียน ให้อยู่อย่างพอเพียง     จัดกิจกรรมลูกเสือเนตรนารียุวกาชาด   สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้มีการจัดตั้ง ชุมนุมชมรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการประยุกต์ใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นวัฒนธรรมหลักคำสอนทางศาสนาในการจัดกิจกรรมนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการติดตามผลและ นำผลการติดตามมาปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมนักเรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                 โรงเรียน มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสา และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ แก้ปัญหาพัฒนา สถานศึกษาชุมชน ด้านเศรษฐกิจสังคมสิ่งแวดล้อมวัฒนธรรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีการติดตามผลและนำผลการติดตามมา ปรับปรุงพัฒนา การดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ของผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4.ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา 

                 โรงเรียน มีแผนงานโครงการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และตระหนักในคุณค่าของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการประชุมอบรมสัมมนาศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ส่งเสริมให้บุคลากรแสวงหาความรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสม่ำเสมอจัดกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แก่บุคลากรของสถานศึกษามีการติดตามผล และ นำผลการติดตามมาปรับปรุงพัฒนาการดำเนินโครงการกิจกรรมพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ ขยายผลและเผยแพร่ ผลการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ของบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

5.ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ

      สถานศึกษา

สถานศึกษาสะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบุคลากรและผู้เรียน มีการแบ่งปัน มีความสามัคคี ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันรวมถึงมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพื้นฟูวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม อันเป็นประโยชน์ต่อ ชุมชนสังคมประเทศชาติ อย่างต่อเนื่อง

ผู้บริหารสถานศึกษา

ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง และนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติตน  อย่างเป็นเหตุเป็นผล พอประมาณกับศักยภาพของตน  และสอดคล้องกับภูมิสังคม  รวมถึงมีการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ให้กับตนเอง และสถานศึกษา  ตลอดจนเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ความรู้ควบคู่กับคุณธรรมในการดำเนินชีวิต

บุคลากรของสถานศึกษา

บุคลากรของสถานศึกษาเกินกว่าครึ่งหนึ่ง  มีความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่ถูกต้องของปรัชญาของเศรษฐกิจ และมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บุคลากร เป็นแบบอย่างในการวางแผนการใช้จ่าย ใช้จ่ายทรัพย์อย่างพอประมาณ ไม่เกินตัว  และมีการออมทรัพย์ตามศักยภาพ และหรือ ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า รวมทั้ง มีส่วนร่วมในการดูแลการใช้ประโยชน์จากสาธารณะสมบัติอย่างคุ้มค่า  มีวินัยในตนเอง มีการดำเนินชีวิตที่ไม่ทำให้ ตัวเองและผู้อื่นเดือดร้อน และมีอุปนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่นบริจาค ทำบุญ และมีส่วนร่วมในการทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม อย่างสม่ำเสมอและ มีความรู้ความเข้าใจ เห็นความสำคัญ รวมถึงรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่า ตลอดจนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาและชุมชน

 

นักเรียน

      1. ผู้เรียนรู้และเข้าใจความหมายแนวคิดการเพิ่มผลผลิต และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

        2. ผู้เรียนสามารถนำหลักแนวคิดการเพิ่มผลผลิตและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับประยุกต์ใช้กับตนเองและครอบครัวได้

        3. ผู้เรียนสามารถเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในครอบครัวและชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้

        4. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

        5. ผู้เรียนเข้าใจและสามารถวิเคราะห์การบริหารจัดการองค์กรวิสาหกิจชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

        6. ผู้เรียนมีความตระหนักในความสำคัญของการบริหารจัดการในการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง